อิกลู นรารัตน์ หนูปลอด. วิคตอร์ ทาราโซฟ-ชลีเชน
Чтение книги онлайн.
Читать онлайн книгу อิกลู นรารัตน์ หนูปลอด - วิคตอร์ ทาราโซฟ-ชลีเชน страница
จากผู้เขียน
ผู้อ่านที่รัก
เรื่องราวของ อิกลู"กระท่อมน้ำแข็ง"บันทึกไว้ในนิยายวิทยาศาสตร์เก่าแก่ของโซเวียตที่มีชื่อเสียงระดับโลก เรื่องอิกลูได้บอกเรื่องราวการผจญภัยอันแสนลึกลับที่เกิดขึ้นกับนักภูมิประเทศชาวโซเวียตในระหว่างการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางตอนเหนือของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ตามแนวคิดและบันทึกของพ่อ เพื่ออุทิศให้กับเพื่อนผู้บุกเบิกตอนเหนือสหภาพโซเวียตทุกคนและอีกทั้งผู้อ่านที่หลากหลายด้วย
บทที่ 1 ความรอดที่น่าอัศจรรย์
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในเรื่องนี้คือการตกอยู่ภายใต้การถูกสะกดจิต ทำให้ฉันลืมทุกอย่างไปโดยสิ้นเชิงจนกระทั่งถึงตอนนี้ แต่ก็มีหลักฐานเพียงพอที่บอกได้ว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นกับฉัน ว่าแต่..เกิดอะไรขึ้น ที่ไหน เมื่อไหร่ ไม่รู้และจำไม่ได้ เป็นไปได้อย่างไรที่ความทรงจำของฉันหลุดหายไปอย่างไร้ร่องรอยถึงสองวัน ฉันต้องตกลงกับ มาฟเลติน บาเดรตินอวิช บาเดรตินอฟ ซึ่งเป็นพนักงานอาวุโสของแผนกภูมิประเทศ ว่าฉันนั่งอยู่ใต้หิมะซึ่งเป็นเหมือนถ้ำหิมะเล็ก ๆ ที่เราเรียกกันว่า "กระท่อมน้ำแข็ง" ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น
จิตใต้สำนึกเท่านั้นที่ทำให้ฉันอุ่นใจได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องไร้สาระโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นวันที่ฉันมีประสบการณ์การผจญภัยที่มีอิทธิพลต่อชีวิตในอนาคตของฉันทั้งหมด แต่สิ่งหนึ่งคือได้เห็นพัฒนาการความสามารถที่แตกต่างของมนุษย์ อีกสิ่งหนึ่งก็คือความประหลาดใจ มันมาจากไหน แหล่งที่มาของพลังวิเศษของฉันซ่อนอยู่ที่ไหน ช่วงเวลานั้นฉันทำงานเป็นนักภูมิประเทศกับกลุ่มสำรวจธรณีฟิสิกส์ชื่อดังของ การสำรวจธรณีฟิสิกส์ไทมีร์ และอาศัยอยู่กับครอบครัวในอพาร์ตเมนต์แบบสองห้องในเมือง ดูดินกา ในเขตอาร์กติก และฉันก็คิดว่าตัวเองเป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ในฤดูหนาวนั้น เราทำงานทางตะวันออกเฉียงเหนือของฐานของเราไปทางหมู่บ้านโวโลชันกา
ฉันจะไม่อธิบายรายละเอียดลักษณะเฉพาะของงานในทุ่งทุนดรา จะบอกเพียงคร่าว ๆ ว่ากลุ่มศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวของเราซึ่งได้รับความช่วยเหลือในการระเบิดด้วยความถี่เรโซแนนซ์และอุปกรณ์พิเศษในการอ่านและรับข้อมูลเพื่อค้นหาที่เก็บน้ำมันและก๊าซใต้ดินในชั้นหินที่สะสมมานับล้านปี กองงานภูมิประเทศของฉันเป็นหน่วยเสริมของกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวซึ่งมีความรับผิดชอบด้านการวางแนวถนน การติดตั้งแนวธรณีฟิสิกส์และการเล็งแนวพื้นที่ด้วยเครื่องมือ
เวลาที่ยากที่สุดในการทำงานคือคืนขั้วโลก ยามพลบค่ำซึ่งเราเรียกจนติดเป็นนิสัยว่ากลางวันซึ่งไม่เอื้อต่อการทำงานในทางตอนเหนือซึ่งมีสภาพภูมิอากาศที่สุดขั้วทำให้การทำงานยากมาก ฉันหมายถึงคนงาน คนขับรถแทรคเตอร์ และแน่นอนรวมไปถึงนักสำรวจด้วย เราจำเป็นต้องใช้เวลาพลบค่ำสั้น ๆ นี้เมื่อสามารถมองเห็นและรีบวัดระยะทางให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะก้าวกันอย่างรวดเร็วขนาดนี้โดยส่วนใหญ่ฉันก็ยังคงต้องทำงานในความมืดอยู่ดี
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในคืนขั้วโลกที่มืดมิดวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งเช้าวันนั้นลมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มพัด ลมพัดส่งเสียงดังแต่ทัศนวิสัยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ฉันสั่งให้ทุกคนไปทำงานและเราก็วางแผ่นข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหวไว้เพื่อกั้นลมในที่โล่งเตียนโดยไม่มีพุ่มไม้แม้แต่พุ่มเดียวบนเนินเขาทุนดรา